กิจกรรม 15 - 19 พฤศจิกายน 2553 คะแนน 200 คะแนน

ส่งงาน




ตอบ 4  สายใยอาหาร ( food web)

    
ในกลุ่มสิ่ิงมีชีวิตหนึ่งๆ ห่วงโซ่อาหารไม่ได้ดำเนินไปอย่างอิสระ แต่ละห่วงโซ่อาหารอาจ
มีความสัมพันธ์ กับห่วงโซ่อื่นอีก โดยเป็นความสัมพันธ์ที่สลับซับซ้อน เช่น สิ่งมีชีวิตหนึ่งในห่วงโซ่อาหาร
อาจเป็นอาหาร ของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่งในห่วงโซ่อาหารอื่นก็ได้  เราเรียกลักษณะห่วงโซ่อาหารหลายๆ   ห่วงโซ่ที่มีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องกันอย่างสลับซับซ้อนว่า  สายใยอาหาร (food web)
 สายใยอาหารของกลุ่มสิ่งมีชีวิตใดที่มีความซับซ้อนมาก แสดงว่าผูู้ั้้้้้้้้้บริโภคลำดับที่ 2 และลำดับที่ 3
มีทางเลือกในการกินอาหารได้หลายทางมีผลทำให้กลุ่มสิ่งมีชีวิตนั้นมีความมั่นคง
ในการดำรงชีวิตมากตามไปด้วย








ตอบ    การสังเคราะห์ด้วยแสง (อังกฤษ: photosynthesis) เป็นกระบวนการทางชีวเคมีที่สำคัญอย่างหนึ่ง ซึ่งทำให้พืช,สาหร่าย และแบคทีเรียบางชนิดได้รับพลังงานจากแสงอาทิตย์มาปรุงอาหารได้ จะว่าไปแล้ว สิ่งมีชีวิตแทบทั้งหมดล้วนอาศัยพลังงานที่ได้จากกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงเพื่อความเติบโตของตน ทั้งทางตรงและทางอ้อม นับเป็นความสำคัญยิ่งยวดสำหรับสิ่งมีชีวิตในโลก นอกจากนี้ยังก่อให้เกิดการผลิตออกซิเจน ซึ่งมีเป็นองค์ประกอบในสัดส่วนที่มากของบรรยากาศโลกด้วย สิ่งมีชีวิตที่สร้างพลังงานจากกระบวนการสังเคราะห์แสงได้ เรียกว่า "phototrophs"









ตอบ  โอโซนและผลกระทบต่อภูมิอากาศหรือการแผ่รังสีคุณสมบัติหรือศักยภาพของผลกระทบต่อภูมิอากาศ มักใช้คำนิยาม radiative forcing มีหน่วย วัตต์ต่อ ตารางเมตร (W/m^2 ) การประมาณเพื่อทำนายความเปลี่ยนแปลงบริเวณผิวพื้นโดยใช้หลักของรังสีดวงอาทิตย์สุทธิ (net Solar) และ รังสีความร้อนช่วงอินฟราเรดที่โทรโพพอส ซึ่งไม่มีอิทธิพลจากเมฆ ฝุ่นละอองและมหาสมุทร ค่าบวกแสดงว่าพลังงานที่เพิ่มขึ้นหรือ ทำให้อบอุ่นขึ้น ค่าลบคือการเสียพลังงานหรือการเย็นลงของบรรยากาศ โอโซนในโทรโพสเฟียร์ ได้เพิ่มขึ้นในซีกโลกเหนือตั้งแต่ก่อนยุคอุตสาหกรรม จากแบบจำลองและการตรวจวัดพบว่ามี Radiative forcing เป็นบวก ประมาณ 0.5 วัตต์ต่อตารางเมตร โอโซนในสตราโตสเฟียร์ลดลงนับจากช่วง 20 ปีที่ผ่านมา จากการศึกษาต่างๆ ได้รับการยืนยันว่า ระหว่าง ปี 1980-1990 ก่อให้เกิด Radiative forcing เป็นลบ ประมาณ 0.1 วัตต์ต่อตารางเมตร เปรียบเทียบกับ ค่าบวกประมาณ 0.45 วัตต์ต่อตารางเมตรที่เกิดจากการเพิ่มขึ้นของก๊าซเรือนกระจกอื่นๆ ในช่วงเดียวกัน ค่าเฉลี่ยการแผ่รังสีทั่วโลกที่เพิ่มขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงโอโซน ดูเหมือนจะเป็นบวกตั้งแต่ก่อนยุคอุตสาหกรรม เกิดขึ้นถึงร้อยละ 20 ของก๊าซเรือนกระจกทั้งหมด ซึ่งเป็นเหตุให้มีการแผ่รังสีเพิ่มขึ้นในช่วงนั้น
ที่มา  ::   http://ozone.tmd.go.th/ozchange.htm








ตอบ  4. ไวรัส เป็นศัพท์จากภาษาลาตินแปลว่า พิษ ในตำราชีววิทยาเก่าของไทยคำว่าไวรัสอาจเรียกว่า วิสา อันเป็นการทับศัพท์ในยุคแรกจากภาษาสันสกฤตที่แปลว่า พิษ เช่นเดียวกัน ปัจจุบันคำว่า ไวรัส หมายถึงจุลินทรีย์ที่สามารถก่อให้เกิดการติดเชื้อได้ (infectious agents) ทั้งในมนุษย์, สัตว์, พืช และ สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ที่เป็นสิ่งมีชีวิตมีเซลล์ (cellular life) ทำให้เกิดโรคที่ส่งผลกระทบกว้างขวาง จึงมีความสำคัญที่จะต้องศึกษาทั้งในทางการแพทย์และทางเศรษฐกิจ ไวรัสเป็นปรสิตอยู่ในร่างของสิ่งมีชีวิตอื่น (obligate intracellular parasite) ไม่สามารถเติบโตหรือแพร่พันธุ์นอกเซลล์อื่นได้ ไวรัสอาจถือได้ว่าเป็นจุลินทรีย์ที่มีลักษณะของการเป็นสิ่งมีชีวิตเพียงประการเดียวคือสามารถแพร่พันธุ์ หรือการถ่ายทอดสารพันธุกรรมของตนเองจากรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง อย่างไรก็ตามไวรัสไม่ใช่จุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กที่สุด ยังมีจุลินทรีย์ที่มีขนาดเล็กกว่าไวรัสคือ ไวรอยด์ (viroid) และ พริออน (prion) ไวรัสชนิดแรกที่ค้นพบคือไวรัสใบยาสูบด่าง(TMV หรือ Tobacco Mosaic Virus) ซึ่งค้นพบโดยมาร์ตินัส ไบเยอรินิค ใน ค.ศ. 1899 ในปัจจุบันมีไวรัสกว่า 5,000 ชนิดที่ได้รับการบันทึกไว้ วิชาที่ศึกษาไวรัสเรียกว่าวิทยาไวรัส (virology) อันเป็นสาขาหนึ่งของจุลชีววิทยา (microbiology)











                เซลล์ของสิ่งมีชีวิตมีขนาดเล็กมาก ภายในมีโครงสร้างมากมายดังนี้
                1. ผนังเซลล์ (Cell Wall ) เซลล์ทั่วไปประกอบด้วยสารพวกเซลลูโลสเป็นหลัก ทำหน้าที่ห่อหุ้มป้องกันอันตรายให้แก่เซลล์พืช ให้เซลล์คงรูปเพิ่มความแข็งแรง เซลล์ของสัตว์ไม่มีผนังเซลล์ แต่เซลล์สัตว์บางชนิดอาจมีสารเคลือบเยื่อหุ้มเซลล์ได้ มีลักษณะแตกต่างกันไปแล้วแต่ชนิดของเซลล์นั้น ๆ เช่น เปลือกกุ้ง กระดองปู มีสารเคลือบพวกไกลโคโปรตีน (Glycoprotein)  เซลล์พวกไดอะตอม มีสารเคลือบเป็นพวก ซิลิกา สารเคลือบเหล่านี้มีประโยชน์ทำให้เซลล์คงรูปร่างได้


                2. เยื่อหุ้มเซลล์ (Cell Membrane) เป็นเยื่อบาง ๆ ประกอบด้วยโปรตีน และไขมัน ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณ และชนิดของสารที่ผ่านเข้าออกจากเซลล์ และมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกได้ และไม่ให้สารบางอย่างผ่านเข้าออกจากเซลล์ จึงมีสมบัติเป็นเยื่อบางๆ (Semipermeable Membrane)


                3. ไซโทพลาซึม (Cytoplasm) เป็นส่วนประกอบที่เป็นของเหลวอยู่ภายในเซลล์ มีสารที่ละลายน้ำได้เช่น โปรตีน ไขมัน เกลือแร่ ฯลฯ ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ที่สำคัญหลายชนิด ดังนี้
3.1 ไมโทคอนเดรีย (Mitochondria) เป็นโครงสร้างที่มีลักษณะยาวรีเป็นแหล่งผลิตสาร
ที่มีพลังงานสูงให้แก่เซลล์
                3.2 คลอโรพลาส (Chloroplast) เป็นโครงสร้างพบเฉพาะในเซลล์พืช มองเห็นเป็นสีเขียวเพราะมีสารพวกคลอโรฟิลล์ ซึ่งไม่ดูดกลืนแสงสีเขียว คลอโรฟิลล์เป็นสาระสำคัญที่ใช้ในกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง
3.3 ไรโบโซม (Ribosome) เป็นโครงสร้างที่มีขนาดเล็ก เป็นแหล่งที่มีการสังเคราะห์
โปรตีนเพื่อส่งออกไปใช้นอกเซลล์
               
3.4 กอลจิคอมเพลกซ์ (Golgi Complex)
เป็นโครงสร้างที่เป็นถุงแบน ๆ คล้ายจานซ้อน
กันเป็นชั้น ๆ หลายชั้น ทำหน้าที่สร้างสารคาร์โบไฮเดรตที่รวมกับโปรตีน แล้วส่งออกไปใช้ภายในเซลล์
3.5 เซนตริโอล (Centriole) พบเฉพาะในเซลล์สัตว์ และโพรติสต์บางชนิด มีหน้าที่เกี่ยวกับการแบ่งเซลล์
3.6 แวคิวโอล (Vacuole) เป็นโครงสร้างที่มีช่องว่างชนาดใหญ่มากในเซลล์พืช ภายในมีสารพวกน้ำมัน ยาง และแก๊สต่าง ๆ
4. นิวเคลียส (Nucleus) อยู่ตรงการเซลล์ เซลล์ส่วนใหญ่มีนิวเคลียส ยกเว้นเซลล์บางชนิด เช่น เซลล์เม็ด เลือดแดงของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม และเซลล์ลำเลียงอาหารของพืช เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จะไม่มีนิวเคลียส นิวเคลียสทำหน้าที่ ถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม ควบคุมการสังเคราะห์สารประกอบของเซลล์ ส่วนประกอบของนิวเคลียสมีดังนี้
                4.1 นิวคลีโอพลาซึม (Nucleoplasm) เป็นของเหลวภายในนิวเคลียส เป็นส่วนที่ใส ไม่มีสี
ประกอบด้วยเม็ดสารเล็ก ๆ ที่มีรูปร่างไม่แน่นอน
               
4.2 ร่างแหนิวเคลียส มีโครงสร้างเป็นเส้นที่สานกันเป็นร่างแห เมื่อเซลล์มีการแบ่งตัว ร่างแหนิวเคลียสจะเปลี่ยนเป็นร่างแหโครโมโซม ซึ่งประกอบด้วย DNA หรือยีน (gene)
ซึ่งมีสารพันธุกรรมประกอบอยู่ และเป็นตัวควบคุมการแสดงออกถึงลักษณะต่าง ๆ ของสิ่งมีชีวิต
               
4.3 นิวคลีโอลัส (Nucleolus) เป็นตำแหน่งที่ติดสีเคมีบนไครโมโซม ประกอบด้วยสารประเภท DNA  TNA ซึ่งทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับกลไกการสร้างโปรตีน









ตอบ  สารละลายไฮโพโทนิก (Hypotonic solution)
         หมายถึง สารละลายภายนอก เซลล์เม็ดเลือดแดงมีความเข้มข้นน้อยกว่าสารละลายภายใน
เซลล์เม็ดเลือดแดงจะทำให้นํ้าภายนอกเซลล์เม็ดเลือดแดงออสโมซิสเข้าสู่เซลล์เม็ดเลือดแดง
เป็นผลทำให้ซลล์เม็ดเลือดแดงเต่งขึ้น ในความเป็นจริงน้ำก็เคลื่อนที่ออกจากเซลล์เหมือนกันแต่
น้อยกว่าเคลื่อนที่เข้าเซลล์ ผลจากการที่น้ำออสโมซิสเข้าเซลล์แล้วทำให้เซลล์เต่ง
เรียกว่า plasmoptysis
        ในเซลล์พืชจะมีผนังเซลล์ที่หนา แข็งแรง ถึงเกิดแรงดันเต่งมาก ๆ ผนังเซลล์ก็ยังต้านทานได้
เรียว่า wall pressure แรงดันเต่งช่วยให้เซลล์พืชรักษารูปร่างได้ดี เช่น ใบกางได้เต็มที่ ยอดตั้งตรง
         ในเซลล์สัตว์์ไม่มีผนังเซลล์ ถ้า้ำน้ำออสโมซิสเข้าไปมากอาจทำให้เซลล์แตกได้ เช่น
เซลล์เม็ดเลือดแดง เรียกปรากฏการณ์ที่ทำให้เซลล์เม็ดเลือดแดงแตกว่า haemolysis







ตอบ  การลําเลียงแบบแอกทีฟทรานสปอร์ต (active  transport)
           เป็นการแพร่ของสารโดยใช้โปรตีนที่เป็นองค์ประกอบของเยื่อหุ้มเซลล์เป็นตัวพา
และใช้พลังงานจาก ATP (adenosine triphosphate) ซึ่งสามารถทําให้อนุภาคของสาร
จากบริเวณที่มีความเข้มข้นของสารน้อยแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์สู่บริเวณที่มีความเข้มข้น
ของสารมากกว่าได้



ที่มา ::  http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/science04/45/2/cell/content/active_trans.html










ตอบ  โปรตีน (อังกฤษ: protein) เป็นสารอินทรีย์ซึ่งพบได้ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิด มีโครงสร้างซับซ้อนและมีมวลโมเลกุลมาก โปรตีนมีหน่วยย่อยคือ กรดอะมิโน เรียงต่อกันด้วยพันธะเปปไทด์ โปรตีนมีหน้าที่สำคัญต่อโครงสร้างและกิจกรรมภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมทั้งไวรัสด้วย โปรตีนในอาหารนั้นเป็นแหล่งของกรดอะมิโน ให้แก่สิ่งมีชีวิตแต่ไม่สามารถสังเคราะห์กรดอะมิโนเหล่านั้นได้เอง






ตอบ 1  ปลามีการขับถ่ายของเสียที่เป็นน้ำและสารไอออนอนินทรีย์ออกทางปัสสาวะ โดยอาศัยการทำงานของไต นอกจากนี้ยังอาศัยเหงือก ผิวหนัง เยื่อบุภายในช่องปาก และทางเดินอาหาร ช่วยขับถ่ายของเสียพวกไนโตรเจน (nitrogenous waste และ ammonia) ด้วย









ตอบ 3   Contractile vacuole ออร์แกแนลที่มีลักษณะเป็นถุง พบในโพรโทซัวน้ำจืดหลายชนิดเช่น อะมีบา พารามีเซียม ทำหน้าที่ขับถ่ายน้ำที่มากเกินความต้องการ และของเสียที่ละลายน้ำออกจากเซลล์และควบคุมสมดุลน้ำภายในเซลล์ให้พอเหมาะด้วย


ที่มา :: http://www.vcharkarn.com/vcafe/29815





ตอบ 2  เมื่อร่างกายได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม  จนทำให้อุณหภูมิที่ผิวหนังกับอุณหภูมิของเลือดสูงกว่าปกติศูนย์ควบคุมอุณหภูมิของร่างกายที่สมองส่วนไฮโพทาลามัสจะกระตุ้นให้เกอดกระบวนการต่างๆ  เพื่อปรับอุณหภูมิของร่างกายให้กลับเป็นปกติ  มีการลดอัตราเมแทบอลิซึมลดความการเผาผลาญอาหารในเซลล์ตับและเซลล์ไขมันหลอดเลือกฝอยบริเวณผิวหนังจะขยายตัว   เพื่อช่วยถ่ายเทความร้อนในร่างการสู่สิ่งแวดล้อม  มีการกระตุ้นการทำงานของต่อมเหงื่อให้ขับเหงื่อเพิ่มขึ้นกล้ามเนื้อที่ยึดโคนเส้นขนในผิวหนังจะคลายตัว  เราจึงเห็นขนเอนราบติดผิวหนัง  ช่วยให้อากาศไหลเวียนบริเวณผิวหนังได้ดีขึ้นความร้อนจึงถ่ายเทสู่สิ่งแวดบ้องได้มากขึ้น


ที่มา :: http://km.vcharkarn.com/other/mo6/48-2010-06-30-08-15-30






ตอบ  3   พ.ญ.สิริพร กัญชนะ ประธานศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย กล่าวถึงข้อดีของการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ว่า จะส่งผลให้เด็กไทยมีสุขภาพที่ดีเมื่อเติบโตขึ้น นมแม่จะช่วยลดความเสี่ยงลดโอกาสของการเกิด 3 โรคร้าย ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง และโรคอ้วนได้ ซึ่งจะลดโอกาสการเกิดโรคความดันโลหิตสูงและเส้นโลหิตอุดตันเมื่อสูงวัย

ที่มา :: http://www.thaihealth.or.th/node/5514








ตอบ 2   วัคซีนเริ่มมีการพัฒนาในราวคริสตทศวรรษที่ 1770 โดยเอ็ดวาร์ด เจนเนอร์ นักวิทยาศาสตร์ชาวอังกฤษ ประสบความสำเร็จในการสกัดเชื้อ cowpox เพื่อป้องกันโรคฝีดาษ (small pox) ในมนุษย์ได้ วันซีนในระยะเริ่มแรกเป็นการนำเชื้อมาทำให้ตายหรือการใช้เชื้อที่อ่อนฤทธิ์เท่านั้น จนกระทั่งปัจจุบันมีการพัฒนาโดยนำเทคโนโลยีรีคอมบีแนนต์มาช่วยในการพัฒนาโดยอาศัยความรู้ทางชีววิทยาระดับโมเลกุล และมีความพยายามพัฒนาวัคซีนโดยการสังเคระห์แอนติเจนในการผลิตซับยูนิตวัคซีน (subunit vaccine) อีกด้วย
คำว่า "วัคซีน" (vaccine) ได้มาจากครั้งที่เอ็ดวาร์ดให้เชื้อ cowpox แก่มนุษย์ โดยคำว่า variolæ vaccinæ มาจากคำว่า vaccīn-us หรือ vacca ซึ่งแปลว่า cow หรือวัวซึ่งมีความสัมพันธ์กับเชื้อ cowpox
ที่มา :: http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%84%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%99




ตอบ  2  การแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (meiosis) เป็น การแบ่งเซลล์เพศ (sex call) 
ในสัตว์จะพบการแบ่งเซลล์
แบบไมโอซิสในรังไข่ และอัณฑะ ในพืชพบในเรณูหรือรังไข่เพื่อสร้างเซลล์สืบพันธ์
ถึงแม้ใช้อวัยวะที่แตกต่างกันแต่กระบวนการนั้นยังมีรูปแบบที่เหมือนกัน กล่าวคือ เซลล์ตั้งต้นจะเรียกว่าแกมีโทโกเนียม (gametogonium) จะแบ่งตัวแบบไมโทซิสเข้าสู่ช่วงแกมีโทไซต์ระยะแรก (primary gametocyte) และแบ่งตัวแบบไมโอซิสเข้าสู่แกมีโทไซต์ระยะที่สอง (secondary gametocyte) แล้วแบ่งเซลล์แบบไมโอซิสอีกครั้งจนได้แกมีทิด (gametid) จำนวน 4 เซลล์ต่อเซลล์แม่ 1 เซลล์ สุดท้ายแกมีทิดจะเจริญไปเป็นสเปิร์มหรือไข่ ซึ่งเป็นแกมีต (gamete) ในขั้นตอนสุดท้าย


ตอบ  2  การสังเคราะห์โปรตีนที่ไรโบโซม
       ตัวที่กำหนดชนิดของกรดอะมิโนและการเรียงลำดับของกรดอะมิโน คือ เบสของ mRNA ที่เป็นรหัสพันธุกรรม คือ ลำดับของเบส 3โมเลกุล ใน mRNA ที่เป็นตัวกำหนดชนิดของกรดอะมิโนและการเรียงลำดับของกรดอะมิโน มีอยู่ 61 รหัส
       สิ่งที่ต้องใช้ในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน ได้แก่ DNA mRNA tRNA ไรโบโซมกรดอะมิโน เอนไซม์ กระบวนการสังเคราะห์โปรตีนมี 2 ขั้นตอน โดยมีหลักสำคัญดังนี้
       1. กระบวนการถอดรหัส หรือทรานสคริปชัน (transcription) เป็นกระบวนการที่ DNAถ่ายทอดข้อมูล ทางพันธุกรรมให้ mRNA จะนำรหัสการสังเคราะห์โปรตีนไปยังไซโทพลาซึม โดยไรโบโซมหน่วยย่อยขนาดเล็กมาจับกับ mRNA
       2. กระบวนการแปลรหัส หรือทรานสเลชัน (translation) เป็นกระบวนการที่ tRNAนำกรดอะมิโนชนิดที่ตรงกับโคดอนของ mRNA ตามตารางที่ 17.5 รหัสพันธุกรรม เช่น tRNAที่มีแอนติโคดอน CCA จะนำกรดอะมิโนชนิดไกลซีน (Gly) มายังไรโบโซมตรงที่มีโคดอน GGU ของmRNA โดยนำมาเรียงต่อกันบนไรโบโซมตามรหัสพันธุกรรมของ mRN





ตอบ 3  โรคทางพันธุกรรมแบ่งออกเป็น 2 แบบคือ
1. ถ่ายทอดบน Autosome แบ่งออกเป็น

ลักษณะด้อยได้แก่ นิ้วเกิน ท้าวแสนปม โรรคสังข์ทอง

ลักษณะด้อยได้แก่ ธาลัสซีเมีย ผิวเผือก เลือดกรุ๊ป 0 เม็ดเลือดแดงเป็นรูปเคียว

2.ลักษณะที่ถ่ายทอดบน Sexchromosome คือ

-ยีนส์ X ลักษณะเด่นคือนิ้วก้ามปู

ลักษณะด้อยคือฮีโมฟีเลีย แขนขาลีบ ตาบอดสี

-ยีนส์ Y คือขนที่หู






ตอบ 3  ยีน คือ หน่วยพันธุกรรมที่กำหนดลักษณะต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต พืช สัตว์ มนุษย์ เช่น ในมนุษย์กำหนดสี และลักษณะของ ผิว ตา และผมความสูง ความฉลาด หมู่เลือด ชนิดของฮีโมโกลบิน รวมทั้งโรคบางอย่าง เป็นต้น ยีนที่ควบคุมกำหนดลักษณะต่างๆ ในร่างกายจะเป็นคู่ ข้างหนึ่งได้รับถ่ายทอดมาจากพ่อ อีกข้างหนึ่งได้รับมาจากแม่ สำหรับผู้มียีนธาลัสซีเมีย(Thalassemia)




ตอบ  1  โครโมโซมเพศ sex chromosomes
     โครโมโซมของคน 23 คู่นั้น เป็น ออโตโซม 22คู่ อีก1คู่เป็น โครโมโซมเพศ 

ในหญิงจะเป็นแบบ XX
  • ในชายจะเป็นแบบ XY
โครโมโซม Y มีขนาดเล็กมียีนอยู่เล็กน้อย ได้แก่ ยีนที่ควบคุมขนบนใบหูก็อยู่บนโครโมโซม Y ดังนั้นลักษณะการมีขนบนหูจะถูกถ่ายทอดโดยตรง จากพ่อ ไปยัง ลูกชาย สืบต่อไปยัง หลานชาย และ สืบต่อไปเรื่อยๆในทายาทที่เป็นชาย ดังนั้น การมีขนที่หูจึงไม่ปรากฎในลูกสาวหรือ หลานสาว 
เมื่อเทียบกับ ออโตโซมแล้ว โครโมโซมYคือยีนเด่น(ทำให้มีเพศเป็นชาย) ส่วน โครโมโซมX คือยีนด้อย ต่างกันที่ว่าการจับคู่แบบ YY (เด่นพันธุ์แท้) ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลย เนื่องจากคนที่เป็นชายกับคนที่เป็นชายไม่สามารถ ปฎิสนธิ ให้กำเนิดชีวิตใหม่ได้ 
มีลักษณะทางพันธุกรรมบางอย่างที่ อยู่บนโครโมโซม X ได้แก่ ตาบอดสี เลือดใหลไม่หยุด(haemophilia) หัวล้าน ( รวมทั้ง ความเป็นเกย์ ด้วยซึ่งอยู่ในตำแหน่งที่ q28 ของ โครโมโซม X) 
ผู้ชายมี โครโมโซม X เพียงแท่งเดียว ส่วนอีกแท่งเป็น โครโมโซม Y ดังนั้นแม้ได้รับยีนด้อยที่ผิดปกติติดมากับ โครโมโซม X เพียงตัวเดียว ก็สามารถแสดงลักษณะทางพันธุกรรมนั้นออกมาได้ ส่วนผู้หญิงมี โครโมโซม X อยู่ 2 แท่ง ถ้าได้รับยีนด้อยที่ผิดปกติติดมากับ โครโมโซม X 1 แท่ง ก็จะยังไม่แสดง อาการของโรคพันธุกรรมให้ปรากฏ ทั้งนี้เพราะยีนปกติที่เหลืออีกตัวจะข่มลักษณะด้อยเอาไว้ ดังนั้นเราจะพบอาการหัวล้าน, ตาบอดสี ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง 

ที่มา :: http://www.snr.ac.th/elearning/siriporn/sec01p03.html



 ตอบ 1  การพบโรคนี้ในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และมักเป็นกับแบบ แดง-เขียวแทบทั้งหมด เนื่องจากว่ายีน ที่ควบคุมการสร้างรงควัตถุรับสีชนิดสีแดง และสีเขียวนั้น (red-pigment gene, green-pigment gene) อยู่บนโครโมโซม X เมื่อยีนนี้ขาดตกบกพร่องไปในคนใดคนหนึ่ง ก็จะทำให้คนนั้นสามารถรับรู้ สีเหล่านั้นได้ลดลงกว่าคนปกติแน่นอนว่าผู้หญิงมีโอกาสเป็นน้อยกว่าเนื่องจากในผู้หญิงมีโครโมโซม X ถึงสองตัว ถ้าเพียงแต่ X ตัวใดตัวหนึ่งมียีนเหล่านี้อยู่ ก็สามารถรับรู้สีได้แล้ว ในขณะที่ผู้ชาย มีโครโมโซม X เพียงตัวเดียว อีกตัวเป็น Y ซึ่งไม่ได้มีแพคเกจบรรจุยีนนี้แถมมาด้วย ;) ก็จะแสดง อาการได้เมื่อ X ตัวเดียวเท่าที่มีอยู่นั้นบกพร่องไป

ที่มา:
:http://www.thaigoodview.com/library/contest2551/health03/12/digitallearning/html/colorblindness.html





ตอบ 3  ลักษณะของยีนส์ ในกรุ๊ปเลือดต่างๆ (โดยยีนส์นั้นเป็นตัวกำหนดให้ร่างกายสร้าง Antigen นั้นๆบนผิวเม็ดเลือดแดง)
   Group A    = มียีนส์ AO หรือ AA
   Group B    = มียีนส์ BO หรือ BB
   Group AB  = มียีนส์AB
   Group O    = มียีนส์ OO

 
คนหมู่เลือด A +A     = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,O
คนหมู่เลือด B+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด
คนหมู่เลือด AB+AB    = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B (ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)
คนหมู่เลือด O+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด O เท่านั้น
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด เป็นได้ทุกกรุ๊ป
คนหมู่เลือด A+AB     = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)

คนหมู่เลือด B+AB     = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A ,AB ,B(ได้ทุกกรุ๊ป ยกเว้น O)

  1. เป็นพาหะ คือ ผู้ที่มียีน หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซีเมีย(Thalassemia) พวกหนึ่งเพียงข้างเดียวเรียกว่า มียีนธาลัสซีเมียแฝงอยู่ จะมีสุขภาพดีปกติ ต้องตรวจเลือดโดย วิธีพิเศษ จึงจะบอกได้ เรียกว่า เป็นพาหะ เพราะสามารถ่ายทอดยีนผิดปกติไปให้ลูกก็ได้ พาหะอาจให้ยีนข้างที่ปกติ หรือข้างที่ผิดปกติให้ลูกก็ได้
  2. เป็นโรค คือ ผู้ที่รับยีนผิดปกติ หรือกรรมพันธุ์ของโรคธาลัสซี เมียพวกเดียวกันมาจากทั้งพ่อและแม่ ผู้ป่วยมียีนผิดปกติทั้งสองข้าง และถ่ายทอดความผิดปกติข้างใดข้างหนึ่งต่อไป ให้ลูกแต่ละคนด้วย

คนหมู่เลือด AB+O     = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด ได้ A หรือ B 

คนหมู่เลือด A+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A หรือ O

คนหมู่เลือด B+O      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด B หรือ O
คนหมู่เลือด A+B      = มีโอกาสได้ลูกเป็น หมู่เลือด A.,B,AB,O

2 ความคิดเห็น: