กิจกรรม 31 ม.ค. - 4 ก.พ. 2554 คะแนน 110 คะแนน




ตอบ 2.
วิเคราะห์ข้อมูล : :
ปฏิกิริยาเคมี (Chemical reaction) คือกระบวนการที่เกิดจากการที่สารเคมีเกิดการเปลี่ยนแปลงแล้วส่งผลให้เกิดสารใหม่ขึ้นมาซึ่งมีคุณสมบัติเปลี่ยนไปจากเดิม การเกิดปฏิกิริยาเคมีจำเป็นต้องมีสารเคมีตั้งต้น 2 ตัวขึ้นไป (เรียกสารเคมีตั้งต้นเหล่านี้ว่า "สารตั้งต้น" หรือ reactant)ทำปฏิกิริยาต่อกัน และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในคุณสมบัติทางเคมี ซึ่งก่อตัวขึ้นมาเป็นสารใหม่ที่เรียกว่า "ผลิตภัณฑ์" (product) ในที่สุด สารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจมีคุณสมบัติทางเคมีที่ต่างจากสารตั้งต้นเพียงเล็กน้อย แต่ในขณะเดียวกันสารผลิตภัณฑ์บางตัวอาจจะแตกต่างจากสารตั้งต้นของมันโดยสิ้นเชิง แต่เดิมแล้ว คำจำกัดความของปฏิกิริยาเคมีจะเจาะจงไปเฉพาะที่การเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอน ซึ่งก่อให้เกิดการสร้างและสลายของพันธะเคมีเท่านั้น แม้ว่าแนวคิดทั่วไปของปฏิกิริยาเคมี โดยเฉพาะในเรื่องของสมการเคมี จะรวมไปถึงการเปลี่ยนสภาพของอนุภาคธาตุ (เป็นที่รู้จักกันในนามของไดอะแกรมฟายน์แมน)และยังรวมไปถึงปฏิกิริยานิวเคลียร์อีกด้วย แต่ถ้ายึดตามคำจำกัดความเดิมของปฏิกิริยาเคมี จะมีปฏิกิริยาเพียง 2 ชนิดคือปฏิกิริยารีดอกซ์ และปฏิกิริยากรด-เบส เท่านั้น โดยปฏิกิริยารีดอกซ์นั้นเกี่ยวกับการเคลื่อนที่ของประจุอิเล็กตรอนเดี่ยว และปฏิกิริยากรด-เบส เกี่ยวกับคู่อิเล็กตรอน
ในการสังเคราะห์สารเคมี ปฏิกิริยาเคมีต่างๆ จะถูกนำมาผสมผสานกันเพื่อให้เกิดสารผลิตภัณฑ์ที่ต้องการ ในสาขาวิชาชีวเคมี เป็นที่ทราบกันว่า ปฏิกิริยาเคมีหลายๆ ต่อจึงจะก่อให้เกิดแนวทางการเปลี่ยนแปลง (metabolic pathway) ขึ้นมาเนื่องจากการที่จะสังเคราะห์ผลิตภัณฑ์โดยตรงนั้นไม่สามารถทำได้ในตัวเซลล์ในคราวเดียวเนื่องจากพลังงานในเซลล์นั้นไม่พอต่อการที่จะสังเคราะห์ ปฏิกิริยาเคมียังสามารถแบ่งได้เป็นปฏิกิริยาอินทรีย์เคมีและปฏิกิริยาอนินทรีย์เคมี

ที่มา : : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%8F%E0%B8%B4%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%A3%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A1%E0%B8%B5


ตอบ 2.
วิเคราะห์ข้อมูล : : สารละลาย คือ ของผสมที่มีองค์ประกอบตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ซึ่งรวมตัวเป็นเนื้อเดียวกัน (homogeneous) องค์ประกอบที่มีปริมาณมากที่สุด เรียกว่าตัวทำละลาย (solvent) ส่วนองค์ประกอบอื่น ๆ ที่มีปริมาณน้อยกว่า เรียกว่า ตัวถูกละลาย (solute) ถ้ากล่าวถึงตัวทำละลายแล้ว ตัวทำละลายที่เรารู้จักกันดี ก็คือ น้ำ สารละลายที่มีน้ำเป็นตัวทำละลาย เรียกว่า สารละลายในน้ำ (aqueous solution) ถึงแม้ว่าในสารละลายหนึ่งๆ จะมีองค์ประกอบอยู่หลายๆ อย่างในสารละลาย ทั้งตัวทำละลาย และตัวถูกละลาย ซึ่งอาจจะมีมากกว่า 1 ชนิดขึ้นไป แต่สมบัติทางเคมี และสมบัติทางกายภาพ ขององค์ประกอบแต่ละชนิด ก็ยังคงเหมือนเดิม เช่น
        สารละลายของ CuSO4 ซึ่งประกอบด้วย CuSO4 ที่ละลายในน้ำ สารละลายที่ได้ยังคงมีสีฟ้าของ CuSO4 และยังคงนำไฟฟ้าได้เหมือน CuSO4 ที่หลอมเหลว ส่วนความดันไอ และความตึงผิวก็ไม่แตกต่างไปจากน้ำบริสุทธิ์ นอกจากนั้นยังคงสามารถทำปฏิกิริยาเคมีได้เช่นเดียวกับน้ำบริสุทธิ์ หรือ CuSO4 เช่นเดิม

ที่มา : : http://www.il.mahidol.ac.th/e-media/ap-chemistry2/liquid_solution/solution_introduction.htm




 ตอบ 4.
วิเคราะห์ข้อมูล : :
ฝนกรด (Acid Rain) วัดได้จากการใช้เสกลที่เรียกว่า pH ซึ่งค่ายิ่งน้อยแสดงความเป็นกรดที่แรงขึ้น น้ำบริสุทธิ์มี pH เท่ากับ 7 น้ำฝนปกติมีความเป็นกรดเล็กน้อยเพราะว่ามีคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่  ส่วนฝนกรดจะมี pH ต่ำกว่า 5.6 ฝนกรดส่วนมากพบในบริเวณศูนย์กลางอุตสาหกรรมได้แก่ ทวีปยุโรป อเมริกา ญี่ปุ่น และจีน   ตะกอนกรดสามารถอยู่ในรูปของฝน หมอก  หิมะ และมีผลกระทบต่อพืช  สัตว์น้ำ และสิ่งก่อสร้างต่างๆ   ลมที่พัดแรงสามารถพัดพาอนุภาคกรดไปพื้นที่อื่นได้ไกลหลายร้อยกิโลเมตร
การกำเนิดของฝนกรด  นักวิทยาศาสตร์พบว่า สาเหตุของฝนกรดคือ ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) และ ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ซึ่งเกิดจากการเผาไหม้เชื้อเพลิงในเครื่องยนต์และโรงงานต่างๆ แล้วถูกปล่อยสู่บรรยากาศ และเกิดการทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกซิเจน และสารเคมีอื่นๆ ก่อให้เกิดสารประกอบที่เป็นกรดซัลฟุริกและกรดไนตริกซึ่งมีแสงอาทิตย์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาเหล่านี้ให้มากขึ้น เรียกว่า ขบวนการออกซิเดชัน
ความเป็นกรดที่เพิ่มขึ้นของน้ำฝน เกิดจากมลพิษ 2 ตัวหลัก คือ
1. ก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (SO2) ทำให้เกิดกรด ซัลฟุริก (H2SO4)
2. ออกไซด์ของไนโตรเจน (NOx) ทำให้เกิดกรด ไนตริก (HNO3)
ซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น จากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิลในการผลิตกระแสไฟฟ้า,โรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ การเผาไหม้ในเครื่องยนต์ดีเซล เบนซิน ส่วนที่เกิดจากธรรมชาติ เช่นการระเบิดของภูเขาไฟ การระเหยจากน้ำทะเล  การเน่าเปื่อยของพืชและแพลงตอน มีน้อยมาก

ที่มา : : http://ozone.tmd.go.th/acid.htm



ตอบ 1.
วิเคราะห์ข้อมูล : :
กรดไฮโดรคลอริก หรือ กรดเกลือ  เป็นสารประกอบเคมี ประเภทกรดละลายในน้ำ โดยเป็นสารละลายของไฮโดรเจนคลอไรด์ (HCl) เป็นกรดแก่, เป็นส่วนประกอบหลักของกรดกระเพาะ (gastric acid) และใช้กันอย่างกว้างในอุตสาหกรรมเป็นของเหลวที่มีพลังการกัดกร่อนสูง
กรดไฮโดรคลอริก หรือ มูเรียติกแอซิด ถูกค้นพบโดย "จาเบียร์ เฮย์ยัน" (Jabir ibn Hayyan) ราวปี ค.ศ. 800 ช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรม (Industrial Revolution) ถูกใช้อย่างกว้างขวางในการผลิตสารประกอบอินทรีย์ เช่น วีนิลคลอไรด์ สำหรับผลิต PVC พลาสติก และ MDI/TDI (Toluene Diisocyanate) สำหรับผลิต พอลิยูลิเทน, (polyurethane) และใช้ในการผลิตขนาดเล็กเช่น การผลิต เจนลาติน (gelatin) ใช้ปรุงอาหาร, และ ใช้ฟอกหนัง กำลังผลิตในปัจจุบันประมาณ 20 ล้านเมตริกตัน ต่อปี (20 Mt/a) ของก๊าซ HCl

ที่มา : : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%94%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%B7%E0%B8%AD



ตอบ 2.
วิเคราะห์ข้อมูล : : ไอโซโทป (Isotopes)ไอโซโทป คือธาตุชนิดเดียวกันที่มีจำนวนโปรตอน (เลขอะตอม) เท่ากันแต่มีจำนวนนิวตรอนต่างกัน ทุกธาตุมีไอโซโทป แม้ว่าในธรรมชาติจะปรากฏเพียงไอโซโทปเดียว การระบุธาตุไอโซโทปจะเขียนสัญลักษณ์ของธาตุและเลขมวลไว้ด้วยกันเช่น C-14 หรือ 14C ไอโซโทป 14C (นิวเคลียสประกอบด้วย 6 โปรตอน และ 8 นิวตรอน) มีนิวตรอนมากกว่า ไอโซโทปของ12C อยู่ 2 นิวตรอน
Mass number (A): เลขมวล            คือจำนวนนิวคลีออน (โปรตอนรวมกับนิวตรอน) ในนิวเคลียส เลขมวลนี้จะใกล้เคียงกับมวลอะตอมและมีความสำคัญในการวิเคราะห์ไอโซโทป
Atomic number (Z): เลขอะตอม
คือเลขที่บอกจำนวนโปรตอนในนิวเคลียส (เท่ากับจำนวนอิเล็กตรอนของอะตอมในภาวะปกติ) ธาตุที่มีเลขอะตอมเท่ากันเป็นธาตุเดียวกัน Neutron number (N): เลขนิวตรอน





จำนวนนิวตรอนในนิวเคลียส คำนวณได้โดยเอาเลขมวลลบด้วยเลขอะตอม

ที่มา : : http://202.29.138.100/learn/index.php?mod=Courses&op=showcontent&cid=1&lid=1&page=6



ตอบ 4.
วิเคราะห์ข้อมูล : : วาเลนซ์อิเล็กตรอน (อังกฤษ:valance electrons) ในทาง วิชาเคมี คือ อิเล็กตรอน ที่อยู่ในวงโคจรของ อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดของอะตอม อิเล็กตรอน เหล่านี้จะมีส่วนร่วมใน ปฏิกิริยาเคมี ด้วย ธาตุที่มีอิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเต็มมักจะไม่ไวต่อปฏิกิริยา ส่วนธาตุที่มี อิเล็กตรอน ชั้นนอกสุดเกือบเต็มหรือเกือบว่างเช่นโลหะอะคาไล และ ฮาโลเจน จะมีความไวต่อปฏิกิริยา


  

ตอบ 3.
วิเคราะห์ข้อมูล : : แมกนีเซียมซัลเฟต (อังกฤษ:magnesium sulfate) เป็น สารประกอบเคมี ของ แมกนีเซียม มีสูตรเคมีดังนี้ MgSO4 มันอยู่ในรูปของเฮปต้า ไฮเดรต
เกลือ เตรียมเริ่มแรกโดยการเคี่ยว (ต้มจนงวดและแห้ง) น้ำแร่ (mineral water) ที่เมือง ยิปซัม (Epsom) ประเทศอังกฤษ และต่อมาภายหลังเตรียมได้จาก น้ำทะเล และพบในแร่หลายชนิด เช่น ซิลิซีอัสไฮเดรตออฟแมกนีเซียม (siliceous hydrate of magnesia)
ในการเกษตรและการทำสวน แมกนีเซียมซัลเฟตใช้ในการแก้ไขและรักษา ดิน ขาดธาตุแมกนีเซียม (แมกนีเซียมเป็นธาตุที่มีความจำเป็นสำหรับโมเลกุลของคลอโรฟิลล์ (chlorophyll)) โดยส่วนใหญ่มักจะแก้ไขกับดินของต้นไม้กระถาง หรือพืชที่ต้องการแมกนีเซียมมากๆ เช่น มันฝรั่ง, กุหลาบ, และ มะเขือเทศ ข้อได้เปรียบของแมกนีเซียมซัลเฟตต่อแมกนีเซียมชนิดอื่นที่ใช้แก้ไขดิน เช่น โดโลไมติกไลม์ คือมันละลายได้ดีกว่า

ที่มา  : :  http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%81%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B8%B1%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%9F%E0%B8%95



 ตอบ 4.
วิเคราะห์ข้อมูล : : 
พันธะไอออนิก ( Ionic bond ) หมายถึง พันธะระหว่างอะตอมที่อยู่ในสภาพไอออนที่มีประจุตรงกันข้ามกัน ซึ่งเกิดจากการเคลื่อนย้ายอิเล็กตรอน 11 ตัว หรือมากกว่า จากอิเล็กตรอนวงนอกสุดของอะตอมหนึ่งไปยังอีกอะตอมหนึ่ง เพื่อให้จำนวนอิเล็กตรอนวงนอกสุด ครบออกเตต ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างอะตอมของโลหะกับอโลหะ โดยที่โลหะเป็นฝ่ายจ่ายอิเล็กตรอนในระดับพลังงานชั้นนอกสุดให้กับอโลหะ
  เนื่องจากโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันต่ำ และอโลหะมีค่าพลังงานไอออไนเซชันสูง ดังนั้นพันธะไอออนิกจึงเกิดขึ้นระหว่างโลหะกับอโลหะได้ดี กล่าวคือ อะตอมของโลหะให้เวเลนต์อิเล็กตรอนแก่อโลหะ แล้วเกิดเป็นไอออนบวกและไอออนลบของอโลหะ เพื่อให้เวเลนต์อิเล็กตรอนเป็นแปด แบบก๊าซเฉื่อย ส่วนอโลหะรับเวเลนต์อิเล็กตรอนมานั้นก็เพื่อปรับตัวเองให้เสถียรแบบก๊าซเฉื่อยเช่นกัน ไอออนบวกกับไอออนลบจึงดึงดูดระหว่างประจุไฟฟ้าต่างกันเกิดเป็นสารประกอบ     ไอออนิก ( Ionic compound )

ที่มา : : www.lks.ac.th/student/kroo_su/chem4/ionic_bond.ppt


 ตอบ 0.3 g/min
วิเคราะห์ข้อมูล : :
ปฏิกิริยาเคมี (chemical reaction) หมายถึง การเปลี่ยนแปลงที่ทำให้เกิดสารใหม่ มีสมบัติต่างจากสารเดิม สารก่อนการเปลี่ยนแปลงเรียกว่า สารตั้งต้น (reactant) และสารที่เกิดใหม่เรียกว่า ผลิตภัณฑ์ (product)
ในขณะที่เกิดปฏิกิริยาเคมี นอกจากได้สารใหม่แล้วยังอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงในด้านอื่นๆ อีกได้ เช่น การเปลี่ยนแปลงพลังงาน
ตัวอย่างการเกิดปฏิกิริยาเคมีที่น่าสนใจเช่น
เมื่อนำลวดแมกนีเซียมใส่ลงในสารละลายกรดไฮโดรคลอริก เป็นปฏิกิริยาระหว่างโลหะ (แมกนีเซียม) กับกรด (กรดไฮโดรคลอริก) สารทั้งสองจะทำปฏิกิริยากัน เกิดการเปลี่ยนแปลงได้สารใหม่เกิดขึ้นดังสมการ
เขียนเป็นสัญลักษณ์ของธาตุและสารประกอบในปฏิกิริยาได้ดังนี้
Mg = แมกนีเซียม
HCl = กรดไฮโดรคลอริก (กรดเกลือ)
MgCl2 = แมกนีเซียมคลอไรด์
H2 = ไฮโดรเจน

 ที่มา : : http://www.maceducation.com/e-knowledge/2422210100/23.htm






ตอบ 5 วัน
วิเคราะห์ข้อมูล : :
การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี
          การเกิดปฏิกิริยาของธาตุกัมมันตรังสี เรียกว่า ปฏิกิริยานิวเคลียร์ ซึ่งมี 2 ประเภท คือ
          1. ปฏิกิริยาฟิชชัน (Fission reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่เกิดขึ้น เนื่องจากการยิงอนุภาคนิวตรอนเข้าไปยังนิวเคลียสของธาตุหนัก แล้วทำให้นิวเคลียร์แตกออกเป็นนิวเคลียร์ที่เล็กลงสองส่วนกับให้อนุภาคนิวตรอน 2-3 อนุภาค และคายพลังงานมหาศาลออกมา ถ้าไม่สามารถควบคุมปฏิกิริยาได้อาจเกิดการระเบิดอย่างรุนแรงที่เรียกว่า ลูกระเบิดปรมาณู (Atomic bomb) เพื่อควบคุมปฏิกิริยาลูกโซ่ไม่ให้เกิดรุนแรงนักวิทยาศาสตร์จึงได้สร้างเตาปฏิกรณ์ปรมาณูเพื่อใช้ในการผลิตกระแสไฟฟ้า
 2. ปฏิกิริยาฟิวชัน (Fussion reaction) คือ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ที่นิวเคลียสของธาตุเบาหลอมรวมกันเข้าเป็นนิวเคลียสที่หนักกว่า และมีการคายความร้อนออกมาจำนวนมหาศาลและมากกว่าปฏิกิริยาฟิชชันเสียอีก ปฏิกิริยาฟิวชันที่รู้จักกันดี คือ ปฏิกิริยาระเบิดไฮโดรเจน (Hydrogen bomb) ดังภาพ
ประโยชน์จากการใช้ธาตุกัมมันตรังสี          1. ด้านธรณีวิทยา การใช้คาร์บอน-14  (C-14) คำนวณหาอายุของวัตถุโบราณ
          2. ด้านการแพทย์ ใช้ไอโอดีน-131 (I-131) ในการติดตามเพื่อศึกษาความผิดปกติของต่อมไธรอยด์ โคบอลต์-60 (Co-60) และเรเดียม-226 (Ra-226) ใช้รักษาโรคมะเร็ง
          3. ด้านเกษตรกรรม ใช้ฟอสฟอรัส 32 (P-32) ศึกษาความต้องการปุ๋ยของพืช ปรับปรุงเมล็ดพันธุ์ที่ต้องการ  และใช้โพแทสเซียม-32 (K–32) ในการหาอัตราการดูดซึมของต้นไม้
          4. ด้านอุตสาหกรรม ใช้ธาตุกัมมันตรังสีตรวจหารอยตำหนิ เช่น รอยร้าวของโลหะหรือท่อขนส่งของเหลว ใช้ธาตุกัมมันตรังสีในการ ตรวจสอบและควบคุมความหนาของวัตถุ ใช้รังสีฉายบนอัญมณีเพื่อให้มีสีสันสวยงาม
          5. ด้านการถนอมอาหาร ใช้รังสีแกมมาของธาตุโคบอลต์-60 (Co–60) ปริมาณที่พอเหมาะใช้ทำลายแบคทีเรียในอาหาร  จึงช่วยให้เก็บรักษาอาหารไว้ได้นานขึ้น
          6. ด้านพลังงาน มีการใช้พลังงานความร้อนที่ได้จากปฏิกิริยานิวเคลียร์ในเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยูเรีเนียม-238 (U-238) ต้มน้ำให้กลายเป็นไอ แล้วผ่านไอน้ำไปหมุนกังหัน เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า


 ที่มา : : http://nakhamwit.ac.th/pingpong_web/m&c_web/Content_10.html


 ตอบ 50 วินาที
วิเคราะห์ข้อมูล : :   สารไอโอดีน เป็นธาตุเคมีที่เกิดขึ้นเองในธรรมชาติแต่ไม่สม่ำเสมอ และมีมากน้อยแตกต่างกันในแต่ละพื้นที่ พบมากในดินและแถบที่ราบลุ่มแม่น้ำ ชายทะเล และทะเลซึ่งเป็นผลให้พืชผักและสัตว์จากทะเลมีสารไอโอดีนมากด้วย
 ประโยชน์ของสารไอโอดีน
สารไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ใช้ในการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าสู่กระแสเลือดทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่างของร่างกายให้ดำเนินไปอย่างปกติ โดยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะระบบสมองและประสาท นอกจากนี้ยังมีผลต่อการสร้างโปรตีนของกล้ามเนื้อของร่างกาย และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและวิตามินอีกด้วย
    สารไอโอดีนเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย ใช้ในการสร้างฮอร์โมนของต่อมไทรอยด์ ซึ่งฮอร์โมนนี้จะเข้าสู่กระแสเลือดทำหน้าที่ควบคุมอวัยวะต่างของร่างกายให้ดำเนินไปอย่างปกติ โดยกระตุ้นให้เกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการของร่างกายโดยเฉพาะระบบสมองและประสาท นอกจากนี้ยังมีผลต่อการสร้างโปรตีนของกล้ามเนื้อของร่างกาย และมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงและเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต ไขมันและวิตามินอีกด้วย


ที่มา : : http://nutrition.anamai.moph.go.th/idd_know.htm




5 ความคิดเห็น:

  1. เนื้อหาตัวเล้กไปไหมเนี่ยย อ่านไม่ค่อยออกเรย :))

    ตอบลบ
  2. เสร็จทุกข้อ เอาไปเลย 110 ตะแนนเต็มค่ะ ^^

    ตอบลบ
  3. โอเคจร้าเรียบร้อยดีนะ 110 เอาไปเต็มๆๆ

    ตอบลบ
  4. เสร็จทุกข้อเเล้ว สีสันสวยงาม

    ให้คะเเนน 110 คะเเนนเต็ม จร้า

    ตอบลบ
  5. เสร็จเรียบร้อยแล้วค่ะ 110 คะแนนเต็ม อิอิ

    ตอบลบ